Sunday, April 19, 2009

เรื่องน่ารู้ของผักหวาน

ลักษณะทั่วไปของผักหวานป่า
ผักหวานป่าเป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre ชาวบ้านแถวจังหวัดสุรินทร์เรียก ผักหวาน ชื่อที่เรียกกันทั่วไป คือ ผักหวาน ซึ่งอาจสับสนกับผักหวานบ้านที่จะกล่าวถึงในตอนท้าย
ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็น ไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง
ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม.ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็ก เป็นตุ่มสีเขียว อัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว
มีพืชอีกชนิดหนึ่งอาจเรียกว่าผักหวานด้วยเช่นกัน ชนิดนี้มีชื่อใน 3-6 เมล็ดผักหวานชนิดนี้รับประทานยอดอ่อนได้เช่นเดียวกัน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น มะยมป่า ผักหวาน ผักหวานบ้าน ผักหวานใต้ใบ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มี ยอดอ่อนลักษณะเหมือนยอดอ่อนของผักหวานป่ามากจนมีการเก็บผิดอยู่เสมอ และเมื่อกินเข้าไป จะเกิดอาการเมาเบื่อ พืชนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Urobotrya siamensis hiepko คนลำปาง เรียก แกก้องหรือนางแย้ม ชาวเชียงใหม่เรียกนางจุม จันทบุรีเรียก ผักหวานเขา กาญจนบุรีและชลบุรีเรียก ผักหวานดง สระบุรีเรียก ผักหวานเมา หรือช้าผักหวาน ภาดอีสานเรียก เสน หรือ เสม


การปลูกและบำรุงรักษา
ควรเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงหลังสงกรานต์ โดยขุดหลุมขนาด 50X50 ซม. รองก้นหลุมด้วย ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณครึ่งปี๊บ คลุกเคล้าผสมกับหน้าดิน โดยลงหลุมทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ ในขณะเดียวกันก็เริ่มสร้าง ความแข็งแรงให้ต้นกล้าก่อนย้ายปลูกลงหลุม จริงด้วยการ รดน้ำให้น้อยลง ให้ต้นกล้าได้รับ แสงแดดเพิ่มขี้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมในเตรท ความเข้มขันไม่เกิน 2 % (1 กรัมต่อน้ำ 50 ลิดร) รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูกประมาณ 2 อาทิตย์ และงดให้น้ำ 1 วัน ล่วงหน้าก่อนย้ายปลูก


ในการถอดถุงพลาสติกเพื่อนำกล้าลงปลูกในหลุม ต้องระวังอย่าให้กระเปาะดินแตกหักหรือ รากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเดิบโตเป็นเวลานาน การปลูกควรให้ ต้นกล้า สูงกว่าปากหลุมประมาณ 5 ซม. แล้วพูนดินกลบโคนขึ้นโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง ในหลุมปลูกเมื่อมีการให้น้ำหรือฝนตก จากนั้นหว่านเมล็ดถั่วเขียวเป็นวงรอบหลุม ให้ห่างจากต้นกล้าประมาณ 15-20 ซม. เพื่อให้ต้นถั่วเป็นพี่เลี้ยง ในระยะแรก ก่อนสิ้นฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน ให้หว่านถั่วมะแฮะ หรือพืชตระกูลถั่ว ที่มีลำต้นสูง และไม่ทิ้งใบช่วงฤดูแล้ง โดยหว่านเป็นวงรอบห่างจากต้นผักหวานป่า รัศมี 70-100 ซม. เพื่อให้เป็นไม้บังร่มในช่วงฤดูแล้ง ระยะปลูกผักหวานป่าควรใช้ ระยะ 2-3 X 2-3 เมตร โดยเลือกสภาพที่ดินที่ลาดเอียงเล็กน้อย หรืออาจปลูกแซมในส่วนที่ค่อนข้างแห้งแล้งได้ เช่นในสวนป่าสัก ผักหวานป่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงเจริญเติบโตถึงระยะเริ่มเก็บผลผลิตได้ การใส่ปุ๋ยกระตุ้นการเจริญเติบโต ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยที่หมักจนสลายตัวดีแล้ว หว่านกระจายโดยรอบโคนต้นในรัศมี 50 ซม. ต้นละ 1 ปี๊บ ในช่วงฤดูฝนปีละครั้ง ห้ามใช้จอบขุดพรวนรอบโคนต้น หากต้องการกำจัดวัชพืชให้ใช้ วิธีถอนหรือใช้มีดฟันให้ราบ เพื่อป้องกันรากผักหวานไม่ให้กระทบกระเทือน

คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานป่า
ผักหนาวป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีปริมาณ เยื่อใยพอสมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้นในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัมโปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดท 10 กรัมเยื่อใย 3.4 กรัมเถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มก. วิตามินซี 115 มก. และค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมาเป็นไข้ และอาเจียนได้
การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ด ไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้ว อาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้ เช่นกัน

http://www.geocities.com/psplant/veget005.htm

No comments:

Post a Comment