Sunday, April 19, 2009

เพิ่มจำนวนต้นผักหวานด้วยวิธีการทุบราก


ความสำเร็จในการขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยวิธีการ “ทุบราก” ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของคุณพ่อทองมาก พงษ์ละออ เกษตรกร บ้านนาข่า ต.นาข่า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ได้อาศัยประสบการณ์ในการขยายพันธุ์ผักหวานป่ามานานหลายปี สามารถขยายพันธุ์ผักหวานป่าในพื้นที่ให้มีจำนวนมากกว่า 300 ต้น ได้ภายในเวลาไม่นาน และสามารถเก็บยอดขายได้ในราคากิโลกรัมละ 150-200 บาท มีรายได้ปีละกว่า 40,000 บาท


วิธีการพิ่มจำนวนต้นโดยการทุบราก : พ่อทองมาก ได้พบวิธีการขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยด้วยภูมิปัญญาและประสบการณ์กว่าค่อนชีวิตที่ผูกพันอยู่กับการเพาะปลูกผักหวานผ่า นั่นคือ การใช้ค้อนหรือสันมีดทุบบริเวณรากผักหวานที่โผล่ขึ้นมาเหนือผิวดิน ให้เกิดบาดแผล จากนั้นจึงเอาดินกลบไว้ให้มิด แล้วหาไม้มาปักไว้บริเวณนั้น เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายและป้องกันการเหยียบย่ำ จากนั้นรอเวลาประมาณเดือนเศษๆ จะมีต้นผักหวานเกิดขึ้นมาใหม่บริเวณบาดแผล ดังนั้นการทุบรากผักหวานป่าบริเวณที่รากโผล่พ้นผิวดินจึงทำให้มีจำนวนต้นผักหวานป่า เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี
ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.ขอนแก่น

ยอดผักหวาน


http://www.geocities.com/psplant/veget005.htm

ลูกผักหวาน

http://www.geocities.com/psplant/veget005.htm

ลูกผักหวาน

http://www.geocities.com/psplant/veget005.htm

ต้นผักหวาน


ต้นผักหวาน


ต้นผักหวาน


เรื่องน่ารู้ของผักหวาน

ลักษณะทั่วไปของผักหวานป่า
ผักหวานป่าเป็นพืชในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre ชาวบ้านแถวจังหวัดสุรินทร์เรียก ผักหวาน ชื่อที่เรียกกันทั่วไป คือ ผักหวาน ซึ่งอาจสับสนกับผักหวานบ้านที่จะกล่าวถึงในตอนท้าย
ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็น ไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง
ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม.ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็ก เป็นตุ่มสีเขียว อัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว
มีพืชอีกชนิดหนึ่งอาจเรียกว่าผักหวานด้วยเช่นกัน ชนิดนี้มีชื่อใน 3-6 เมล็ดผักหวานชนิดนี้รับประทานยอดอ่อนได้เช่นเดียวกัน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น มะยมป่า ผักหวาน ผักหวานบ้าน ผักหวานใต้ใบ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มี ยอดอ่อนลักษณะเหมือนยอดอ่อนของผักหวานป่ามากจนมีการเก็บผิดอยู่เสมอ และเมื่อกินเข้าไป จะเกิดอาการเมาเบื่อ พืชนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Urobotrya siamensis hiepko คนลำปาง เรียก แกก้องหรือนางแย้ม ชาวเชียงใหม่เรียกนางจุม จันทบุรีเรียก ผักหวานเขา กาญจนบุรีและชลบุรีเรียก ผักหวานดง สระบุรีเรียก ผักหวานเมา หรือช้าผักหวาน ภาดอีสานเรียก เสน หรือ เสม


การปลูกและบำรุงรักษา
ควรเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงหลังสงกรานต์ โดยขุดหลุมขนาด 50X50 ซม. รองก้นหลุมด้วย ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณครึ่งปี๊บ คลุกเคล้าผสมกับหน้าดิน โดยลงหลุมทิ้งไว้ 2-3 อาทิตย์ ในขณะเดียวกันก็เริ่มสร้าง ความแข็งแรงให้ต้นกล้าก่อนย้ายปลูกลงหลุม จริงด้วยการ รดน้ำให้น้อยลง ให้ต้นกล้าได้รับ แสงแดดเพิ่มขี้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมในเตรท ความเข้มขันไม่เกิน 2 % (1 กรัมต่อน้ำ 50 ลิดร) รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูกประมาณ 2 อาทิตย์ และงดให้น้ำ 1 วัน ล่วงหน้าก่อนย้ายปลูก


ในการถอดถุงพลาสติกเพื่อนำกล้าลงปลูกในหลุม ต้องระวังอย่าให้กระเปาะดินแตกหักหรือ รากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเดิบโตเป็นเวลานาน การปลูกควรให้ ต้นกล้า สูงกว่าปากหลุมประมาณ 5 ซม. แล้วพูนดินกลบโคนขึ้นโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง ในหลุมปลูกเมื่อมีการให้น้ำหรือฝนตก จากนั้นหว่านเมล็ดถั่วเขียวเป็นวงรอบหลุม ให้ห่างจากต้นกล้าประมาณ 15-20 ซม. เพื่อให้ต้นถั่วเป็นพี่เลี้ยง ในระยะแรก ก่อนสิ้นฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน ให้หว่านถั่วมะแฮะ หรือพืชตระกูลถั่ว ที่มีลำต้นสูง และไม่ทิ้งใบช่วงฤดูแล้ง โดยหว่านเป็นวงรอบห่างจากต้นผักหวานป่า รัศมี 70-100 ซม. เพื่อให้เป็นไม้บังร่มในช่วงฤดูแล้ง ระยะปลูกผักหวานป่าควรใช้ ระยะ 2-3 X 2-3 เมตร โดยเลือกสภาพที่ดินที่ลาดเอียงเล็กน้อย หรืออาจปลูกแซมในส่วนที่ค่อนข้างแห้งแล้งได้ เช่นในสวนป่าสัก ผักหวานป่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงเจริญเติบโตถึงระยะเริ่มเก็บผลผลิตได้ การใส่ปุ๋ยกระตุ้นการเจริญเติบโต ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยที่หมักจนสลายตัวดีแล้ว หว่านกระจายโดยรอบโคนต้นในรัศมี 50 ซม. ต้นละ 1 ปี๊บ ในช่วงฤดูฝนปีละครั้ง ห้ามใช้จอบขุดพรวนรอบโคนต้น หากต้องการกำจัดวัชพืชให้ใช้ วิธีถอนหรือใช้มีดฟันให้ราบ เพื่อป้องกันรากผักหวานไม่ให้กระทบกระเทือน

คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานป่า
ผักหนาวป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีปริมาณ เยื่อใยพอสมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้นในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัมโปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดท 10 กรัมเยื่อใย 3.4 กรัมเถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มก. วิตามินซี 115 มก. และค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมาเป็นไข้ และอาเจียนได้
การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ด ไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้ว อาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้ เช่นกัน

http://www.geocities.com/psplant/veget005.htm

เรื่องผักหวาน

ผักหวาน
ผักหวานเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่เกิดทั่วไปในป่าของประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตอนใต้ พบมากในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และเขมร ชอบขึ้นตามป่าแห้งแล้ว ที่ราบสูงและเนินเขา ไม่ค่อยพบในพื้นที่น้ำท่วมถึง
ในประเทศไทยพบมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีขึ้นอยู่ทั่วไปตามป่าชายเขา หรือป่าละเมาะทนต่อความแห้งแล้งได้ ตามปกติผักหวานที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ามาก ประชาชนที่อยู่ในชนบท นิยมเก็บยอดอ่อนจากผักหวานในป่ามารับประทาน โดยทั่วไปผักหวานตามธรรมชาติจะผลัดใบในช่วงปลายฤดูหนาว และจะแตกใบอ่อนในช่วงฤดูร้อน ชาวบ้านทั่วไปจะแยกผักหวานออกเป็น 2 ชนิด คือ (1) ผักหวานป่า ชาวบ้านทั่วไปจะแยกใบอ่อนมาประกอบอาหาร ใบจะไม่มีขน (2) ผักหวานบ้าน ชาวบ้านไม่นิยมนำมารับประทาน ใบจะมีขน ผักหวานทั้งสองชนิด มีความแตกต่างกันเหมือนตะแบก กับอินทนินท์
โดยทั่วไปยอดผักหวานที่วางขายในท้องตลาด ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ส่วนมากเป็นยอดผักหวานจากป่า ในสภาวะปัจจุบันการไปเก็บผักหวานตามป่า มักประสบปัญหาการแก่งแย่งจึงได้มาบ้าง ไม่ได้บ้าง ไม่มีความแน่นอน ขณะนี้มีเกษตรกรชาวสวนจังหวัดลำพูน ทำสวนผักหวานสำเร็จ โดยมีผักหวานปลูกในสวนประมาณ 3,000 ต้น ขายยอดผักหวานที่สวนกิโลกรัมละ 200 บาท
การตลาดผักหวาน
ผักหวานเป็นพืชเศรษฐกิจที่ตลาดต้องการมาก เนื่องจากประชาชนทั่วไปนิยมรับประทานผักหวานโดยมีราคาซื้อขายกิโลกรัมละ 200-300 บาท หรือผู้บริโภคซื้อปลีกราคาขีดละ 20-30 บาท เป็นผักที่มีรสชาดดีมากและไม่มีสารพิษตกค้าง ปัจจุบันมีผู้ผลิตผักหวานเพื่อการค้าน้อย ส่วนมากผักหวานป่าที่มีอยู่ในธรรมชาติไม่พิเพียงต่อการบริโภคของประชาชนทั่วไป หากส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกแพร่หลาย จะทำให้ประชาชนมีรายได้ดี ทำให้การประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรมีความมั่นคง ตลาดมีความต้องการผลผลิตผักหวานเป็นจำนวนมาก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักหวาน
ผักหวานมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Quereus Lauritolia Indica มนุษย์รู้จักนำผักหวานที่เกิดตามธรรมชาติ มารับประทานเป็นเวลานานนับพันปี เพราะยอดผักหวานแม้กระทั่งยอดสด ก็มีรสหวานกลมกล่อมชวนรับประทาน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักหวานที่ควรทราบ คือ
1. ลักษณะใบ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ เส้นกลางใบนูน มีเส้นใบสานกันเป็นร่างแห
2. ลักษณะการแยกของใบ จับใบเดี่ยว บนกิ่งจำนวนตั้งแต่ 12 - 20 ใบต่อกิ่ง การจับของใบเรียงสลับกัน
3. ลักษณะยอดอ่อนแตกยอดอ่อนบริเวณตากิ่งมีความยาวประมาณ 15-20 ซ.ม. มีใบอ่อนจับประมาณ 8 - 16 ใบ
4. ลักษณะดอก ดอกสามารถออกได้โดยทั่วไปของกิ่งและลำต้น มีก้านดอกจัดเรียงแบบ Panical ช่อดอกมีความยาวประมาณ 5 - 8 ซ.ม. มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย
5. ลักษณะผลผักหวานจัดเป็นผลเดียวมีลักษณะรี ค่อนข้างกลม มีความยาวประมาณ 2.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.5 ซ.ม. เมื่อสุกผลมีสีเหลือง
6. ลักษณะเมล็ด มีลักษณะเป็นวงรียาว 12 ซ.ม. กว้างประมาณ 1 ซ.ม. มีเปลือกหุ้มสีน้ำตาล
7. เนื้อเกิดจากส่วนที่เจริญมาจากก้านไข่ เนื้อมีสีขาวขุ่นจนถึงสีเหลือง มีพิษในการกัดเนื้อเยื่อ
8. ลักษณะต้น ผักหวานมีลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร มีทรงพุ่มสวยงามแตกกิ่งก้านสาขาดี เปลือกลำต้นแตกลายขาว ผิวขรุขระ
9. ลักษณะราก มีรากแก้วหยั่งดินลึก 60-150 ซ.ม. รากแขนงจะแตกรอบโคนต้นและมีรากขนอ่อนอยู่บริเวณหน้าดินจำนวนมาก
การขายพันธุ์ผักหวานเพื่อปลูกเป็นสวน
การขยายพันธุ์ผักหวาน มีนักวิชาการหลายคนกล่าวว่า ผักหวานสามารถขยายพันธุ์ได้ ทั้งแบบใช้เพศและแบบไม่ใช้เพศ ผักหวานขยายพันธุ์ได้ 4 วิธี คือ การเพาะเมล็ด การตอน การตัดรากชำ และการขุดต้นใหญ่ (Balling) มาปลูก การตอนผักหวาน ปรากฏว่าใช้ระยะเวลาออกรากนานมาก ใช้เวลาประมาณ 12 - 16 เดือน ถ้าจะให้ดีต้องข้ามปี เมื่อนำมาชำ ต้องใช้ถุงพลาสติกหุ้มเป็นเวลาหลายเดือน นำไปปลูกสามารถยืนต้นอยู่ได้ ส่วนการชำรากและการขุดต้นใหญ่ (Balling) มาปลูกในสวนมีอัตราการตายน้อยมาก วิธีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
การเตรียมการเพาะผักหวาน
1. การเก็บเมล็ดพันธุ์ที่จะนำไปเพาะ เมล็ดพันธุ์ผักหวานสามารถหาได้ตามป่าทั่วไป การเก็บเมล็ดให้เก็บเอาเฉพาะเมล็ดพันธุ์ผักหวานที่แก่แล้ว โดยผิวของเปลือกจะเป็นสีเหลือง ข้อควรระวังเมื่อเก็บผักหวานได้มาก ๆ ไม่ควรเก็บรวมใส่ถุงปุ๋ย เพราะจะทำให้เมล็ดเกิดความร้อน ทำให้นำไปเพาะไม่เกิด ควรเก็บใส่เข่ง ตะกร้า หรือกระสอบพลาสติกสานห่าง ใช้น้ำรดบ่อย ๆ ตลอดระยะเวลาการขนส่ง
2. การเก็บดิน ควรใช้จอบขุดดินบริเวณต้นผักหวาน ที่จะใช้ทำพันธุ์ติดมาด้วย เนื่องจากมีจุลินทรีย์ไมโครไรซา (MICRORIZA) เพราะเชือจุลินทรีย์ไมโครไรซา จะสร้างความต้านทานต่อโรคหลายชนิด ในขณะเดียวกันจุลินทรีย์ก็จะได้น้ำเลี้ยงจากรากผักหวาน
การแกะเปลือกและล้างเยื่อเมือก
เมื่อได้เมล็ดผักหวานแล้วนำมาแกะเปลือกและใช้มีดเล็ก ๆ ขูดเยื่อเมือกเพื่อทำลายสารยับยั้งการเจริญเติบโต ของ Eunlio เยื่อเมือกของเมล็ดผักหวานมีฤทธิ์กัดผิวหนัง ถ้าทำมากเยื่อเมือกผักหวาน และล้างเมล็ดผักหวานควรสวมถุงมือยาง
การนำเมล็ดผักหวานมาผึ่ง
การนำเมล็ดผักหวานมาผึ่ง นำเมล็ดผักหวานทำการแกะเปลือก ขูดเยื่อเมือก และล้างน้ำแล้วนำมาผึ่งในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อาจใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รอง เกลี่ยเมล็ดผักหวานให้กระจายบาง ๆ บนภาชนะรอง ผึ่งไว้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดก็จะแห้ง ถ้าหากต้องการให้เมล็ดผักหวานแห้งเร็วอาจใช้พัดลมเป่าช่วยก็ได้
การเตรียมถุงเพราะผักหวาน
การเตรียมถุงเพาะผักหวาน ควรใช้ถุงพลาสติก ขนาด 4 x 6 นิ้ว ควรซื้อถุงพลาสติกที่ยังไม่เจาะรู มาเจาะด้านข้าง รูขนาด 3 นิ้ว (3 หุน) โดยใช้เหล็กเจาะสายพานขนาด 3 หุน เจาะถุงที่ใช้เพาะผักหวาน ไม่ควรใช้ ถุงที่เจาะด้านล่าง เพราะเมื่อนำไปเพาะผักหวานจะทำให้รากผักหวานแทงออกนอกถุงพลาสติก ยั่งลงดินเมื่อขนย้ายไปปลูกจะทำให้รากผักหวานขาด เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การปลูกผักหวานที่มีอัตราการตายมาก
การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกผักหวาน ดินที่ใช้เพาะผักหวานควรเป็นดินค่อนข้างเหนียว หรือเป็นดินจอมปลวกได้ยิ่งดี นำมาย่อยให้ละเอียด โรบทับด้วยปุ๋ยหมักที่ทำให้ด้วยการใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย
การผสมดินควรผสมด้วยอัตราดิน ต่อปุ๋ยหมักต่อแกลบให้อัตรา 1 : 1 : 1 โดยผสมปุ๋ยฟอสเฟส (0 - 3 - 0) ในอัตราดินปลูก 100 ต่อปุ๋ยฟอสเฟส 10 กก.
บรรจุดินลงถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ โดยให้บริมาณดินที่บรรจุอยู่ในถุงห่างจากปากถุงลงมาประมาณ 1 ซ.ม.
การวางเมล็ดผักหวาน ควรนำเมล็ดผักหวานที่ผึ่งแล้วมาวางลงตรงกลางถุงเพาะ จำนวน 2 เมล็ด โดยวางในแนวนอนลึก 2 ใน 3 ของเมล็ด
การโรยดินกลบ ให้ใช้ดินที่เก็บมาจากบริเวณต้นผักหวาน โรยกลบเมล็ดผักหวาน
หลังจากที่นำเมล็ดลงเพาะในถุง และกลบด้วยดินจากต้นแม่แล้ว ให้เก็บถุงเพาะไว้ในที่ร่มรำไร รดน้ำให้ชุ่มพอดีอยู่เสมอ ประมาณ 2 อาทิตย์ เมล็ดผักหวานจะเริ่มปิแล้วจะเริ่มแทงรากลงในดิน หลังจากนั้นรากจะยกเมล็ดขยับและแตกใบออกมา 2 ใบ เริ่มตั้งแต่เพาะจนถึงแตกใบ จะใช้เวลาประมาณ 40 วัน
การดูแลต้นกล้าผักหวาน ให้หมั่นตรวจแปลงเพาะผักหวานอยู่เสมอ โดยเฉพาะการรดน้ำไม่ควรให้มากจนเกินไป ควรอยู่ในระดับที่พอดี อาจมีการใช้ฮอร์โมนจิบเบอเลนลีน ช่วยในการเจริญเติบโต
การเลือกสถานที่ปลูกผักหวาน
ผักหวานสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ตามธรรมชาติผักหวานชอบเกิดในดินลูกรัง แต่การทำเป็นสวนควรเลือกสถานที่ปลูก ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์วัตถุ เป็นที่ดินไม่มีน้ำท่วมขังไม่เกิน 1 วัน ใกล้เส้นทางคมนาคม หากที่นาจะทำเป็นสวนผักหวานควรยกร่อง
การปลูกผักหวาน
ก. การปลูกผักหวานโดยใช้ต้นกล้า
1. การเตรียมดินปลูกผักหวานเป็นพืชเดี่ยว
ควรไถพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นทำการปรับสภาพดิน โดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก แล้วไถพรวนดินเพื่อผสมปุ๋ยอีกครั้งหนึ่งเสร็แล้ว ทำเครื่องหมายที่จะขุดหลุมปลูก โดยมีระยะห่างระหว่างต้นระหว่างแถวมีระยะ 2 x 2 เมตร ไร่ละ 400 ต้น
2. การเตรียมดินปลูกผักหวานเป็นพืชแซม
ในการปลูกผักหวานแซมพืชหลัก การที่จะพรวนดินอาจทำได้ลำบาก ควรทำเครื่องหมายที่จะขุดหลุมปลูกผักหวานแซกตามแถวพืชผักโดยใช้ยึดถือความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ทั้งระยะปลูกและตำแหน่งที่ปลูกโดยยึดระยะปลูก 2 x 2 เมตร ไว้จะเว้นเฉพาะที่ก็เว้นไปตามความเหมาะสม
3. การขุดหลุมปลูกผักหวาน
ควรขุดหลุมขนาด กว้าง 50 ซ.ม. ยาว 50 ซ.ม. ลึก 50 ซ.ม. แยกหน้าดินเก็บข้างหนึ่งและดินชั้นล่างเก็บข้างหนึ่งเสร็จแล้ว ใช้ขี้วัวประมาณ 1 ลิตร และปุ๋ยฟอสเฟสประมาณ 1 ลิตร รองก้นหลุม นำหน้าดินไปผสมกับวัสดุรองก้นหลุมให้มีปริมาณประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
วิธีปลูกผักหวาน
1. ต้นพันธุ์ที่จะนำมาปลูกควรงดการให้น้ำ 1 - 3 วัน และควรมีอายุ 3 - 4 เดือน มีขนาดความสูงของต้นประมาณ 5 - 15 ซ.ม.
2. ควรอยู่ในช่วงต้นฤดูฝน
3. ใช้มีดที่คมกรีดถุงพลาสติกด้านรที่ไม่ตรงกับมุมของถุง 2 ข้าง ค่อย ๆ แกะถุงพลาสติก
4. นำต้นกล้าผักหวานพร้อมดินที่แกะถุงออกแล้ววางลงในหลุม ให้ดินในถึงต่ำกว่าปากหลุมประมาณ 1 ซ.ม.
5. นำดินที่เหลือมากลบต้นกล้า
6. ใช้มือกดดินให้แน่นพอสมควร
การปลูกผักหวานโดยใช้เมล็ด
การเตรียมดินเตรียมหลุมปลูกทำเช่นเดียวกับการปลูกด้วยต้นกล้า แต่ใช้เมล็ดหยอดลงหลุมแทน โดยใช้เมล็ดหยอดลงหลุมประมาณ 3-5 เมล็ด หลังจากนั้นใช้เศษวัสดุ เช่น ฟางข้าว เศษหญ้าคลุมปากหลุม หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่มชื้นทุกวัน จนเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อน โดยจะใช้เวลาประมาณ 40 วัน หลังจากเมล็ดงอกจนถึงแตกใบ วิธีนี้หากดูแลการรดน้ำได้จะทำให้มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง และอัตราการรอดสูงตามไปด้วย
ข้อความระวังในการปลูกผักหวานโดยใช้ต้นกล้า
1. อย่าให้ดินต้นกล้าผักหวานแตก
2. อย่าให้รากผักหวานขาด
3. หลังปลูกหมั่นดูแล ถ้าดินแห้งให้รดน้ำ
การบำรุงรักษาผักหวานที่ให้ผลผลิตแล้ว
การให้น้ำ ผักหวานเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยมาก ในธรรมชาติผักหวานมีเปลือกลำต้นและเปลือกรากหนามาก มีรูพรุน เก็บกับน้ำได้ดีมาก ผักหวานจะเก็บน้ำในฤดูฝนไว้ได้ และจะเก็บรักษาน้ำไว้ในการแตกยอด และออกดอกพร้อม ๆ กันในฤดูแล้ง แต่ผักหวานที่ปลูกเป็นสวน สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ถ้าสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ว
การให้ปุ๋ย หากผักหวานต้นใหญ่แล้วสามารถให้ปุ๋ยพรวนดินให้น้ำได้เพื่อเพิ่มผลผลิต ปุ๋ยที่ให้ผักหวานควรมีอัตราส่วน 2 : 1 : 1 หรือ 3 : 1 : 1 เพราะผักหวานใช้ยอดและใบอ่อนเป็นผลผลิต การให้ปุ๋ยควรให้ในช่วงเร่งการเจริญเติบโต และสามารถละลายน้ำให้ได้เรื่อย ๆ โดยให้แต่น้อยแต่บ่อยครั้ง
การป้องกันโรคและแมลง
สำหรับใบผักหวานยังไม่พบแมลงเข้าทำลาย จะมีอยู่บ้างก็ที่เปลือกของลำต้น โดยมีด้วงปีกแข็งเข้าทำลาย และรากผักหวานมีตุ่นและหนูเข้าทำลาย
ส่วนโรคผักหวานนั้น เท่าที่เคยตรวจพบคือ โรคแอนแทครโนสบ้างเล็กน้อย หากใบใดเป็นโรคก็เด็ดทิ้งแล้วนำไปเผา ไม่ควรใช้สารเคมีในแปลงปลูกผักหวาน เพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้
ปัญหาการปลูกผักหวานไม่เจริญเติบโต
หลังจากเกษตรกรปลูกผักหวานแล้ว มักมีอัตราการรอดตายน้อย ทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสของชาวสวน ปัจจัยที่ทำให้ปลูกผักหวานไม่เจริญเติบโต คือ
1. ขณะย้ายกล้าผักหวานไปปลูก มีรากหยั่งลงดินเวลาขนย้ายทำให้รากขาด
2. ขณะปลูกดินในถุงแตก
3. มีรากที่สอดแทรกอยู่ตามมุมถุงขาด ขณะแกะถุงพลาสติกออก
4. หลังปลูกผักหวานใหม่ไม่รดน้ำ
5. มีสัตว์เข้ามาเหยียบย่ำหรือทำลาย

http://www2.doae.go.th/www/work/web/therinan/2_002.htm